ภาคการเกษตรมี per capita GDP ต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมและบริการ แม้จะมีจำนวนประชากรในภาคเกษตรถึง 14 ล้านคน นับเป็นครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด แต่ก็สร้าง GDP ได้ไม่มากนัก และการทำเกษตรของไทยยังได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ
คุณปรีสาร รักวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้เน้นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในภาคการเกษตร และแนะนำแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวถึง รวมถึงช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตร
ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer และ Young Smart Farmer) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตร โดยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ การใช้ดิจิทัลสามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในขั้นตอนการเตรียมปัจจัยการผลิต
2.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดการกิจกรรมการเกษตร
3.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดการค้าและการพาณิชย์
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคการเกษตรอยู่ในระดับ 1.0-2.0* ในทุกกิจกรรม เป็นการใช้ดิจิทัลอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน และเกษตรกรอายุน้อยจะใช้เทคโนโลยีมากกว่าเกษตรกรที่อายุมาก อย่างไรก็ดี มีการใช้ e-Commerce และ Social Media ในการจำหน่ายผลผลิตแปรรูป
อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการเกษตรยังมีอุปสรรคบางประการ เช่น การขาดความรู้ การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล การให้บริการหลังการติดตั้งระบบ และการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ใช้เวลานานในการคุ้มทุน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น ขาดแคลนเงินทุน สินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ โดยแนวทางนโยบายสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
เทรนด์การใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเกษตร
Plant-Base Food แหล่งอาหารโปรตีนทางเลือก มีการนำพืชที่เป็นแหล่งโปรตีน เช่น พืชตระกูลถั่ว ใช้เทคโนโลยีพัฒนาเป็นเนื้อเทียม อาหารทะเลเทียม ไข่เทียม เป็นต้น ซึ่งเทรนด์อาหารโปรตีนทางเลือกกำลังเป็นที่นิยมในยุโรป ซึ่งสินค้าต้องสามารถตอบโจทย์ตลาดในเรื่องราคา รสชาติ และความสะดวกในการเข้าถึง
Alternative Food Insect แมลงในกลุ่มด้วงและแมลงปีกแข็ง ผีเสื้อ ผึ้ง จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงกลุ่มมวน ด้วยปัจจัยด้านสารอาหาร การเพาะเลี้ยงใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อย พฤติกรรมการบริโภคของคนกลุ่มเจน Millennium และ Gen Z รวมทั้งการพัฒนาสินค้าอาหารจากแมลงตอบความต้องการตลาด
ปัญหาโลกร้อน และ Carbon Credit
ในการประชุม COP26 ที่มีการยกเรื่อง Carbon Credit มาเป็นเครื่องมือก่อให้เกิดความสมดุลเรื่องสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งแม้ขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่องที่เกษตรกรไม่มีความรู้เรื่อง Carbon Credit ว่าสามารถนำมาขายได้ และกระบวนการนำ Carbon Credit มาขายในภาคการเกษตรมีความยุ่งยาก ขาดการส่งเสริมเชื่อมโยงตลาดผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่คุณปรีสารก็มองว่าเป็นโอกาส เพราะตลาดซื้อขาย Carbon Credit มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ราคาเฉลี่ยเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างโดรน มาเก็บข้อมูลประเมินการกักเก็บ Carbon และหาซื้อขาย Carbon Credit กับต่างประเทศ ผ่าน International Platform โดยใช้ Token Carbon บนระบบบล็อกเชน
Food Waste อาหารที่เหลือในโรงงาน ตลาดสด ร้านอาหาร ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำปุ๋ยหมัก ทำฟาร์มหนอนเชิงพาณิชย์จากอาหารเหลือทิ้ง ไว้ส่งขายให้เกษตรกรหรือผู้บริโภคบางกลุ่มจากขยะอินทรีย์ ทำเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อใช้งานกับเครื่องจักร ด้วยน้ำมันหลังจากใช้ทำอาหารแล้ว สร้างพลังงานไฟฟ้าผ่านเครื่องย่อยขยะจากอาหารเป็นพลังงานไฟฟ้า ฯลฯ
บทบาทของ depa
depa ส่งเสริมเทคฯ สตาร์ทอัพไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน Digital Transformation ในภาคเกษตร SMEs อุตสาหกรรม ชุมชน เพื่อสร้างตลาด พัฒนาเมือง เกิดระบบนิเวศให้เป็น Smart City และเพื่อให้เติบโตเป็น Digital Thailand อย่างยั่งยืน
depa มี depa Digital Transformation Fund ให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมด้านธุรกิจ และ ด้านการเกษตร โดยช่วยสนับสนุน 60% ของเงินลงทุนในการใช้ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนเป็น depa Digital Provider ทั้งในส่วน Front end, Back และ Infrastructure โดยวงเงินสนับสนุนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในภาคการเกษตร มีโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการเกษตรของไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต
แหล่งที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/agritech-digital-in-agriculture.html